Web Accessibility คือ เว็บไซต์ที่ออกแบบและพัฒนาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง และใช้งานได้อย่างปราศจากอุปสรรคเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นคนปกติหรือผู้สูงอายุ แม้กระทั่งผู้พิการ ก็สามารถใช้งานได้ เช่น ผู้พิการทางสายตาและผู้พิการทางการได้ยิน เป็นต้น โดยที่ guideline ต่างๆ หรือแนวทางการออกแบบนี้ เป็นแนวทางการออกแบบหรือมาตรฐานที่สร้างโดย W3C ซึ่งเป็นองกรค์ที่กำหนดมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีของเว็บไซต์ โดยอาศัยหลักการออกแบบที่เรียกว่า Universal Design(UD) ตามแนวทางการออกแบบที่เรียกว่า WCAG(Web Content Accessibility Guidelines)
เกณฑ์การเข้าถึงข้อมูลดิจิทัลในปัจจุบันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงไปหรืออัปเดตเรื่อยๆ ในขณะที่เทคโนโลยีดีขึ้นและการออกแบบเพิ่มความซับซ้อน เรายังคงต้องพัฒนามาตรฐานการเข้าถึงเว็บไซต์ให้ทันสมัยขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้ W3C จึงมีการอัปเดตข้อแนะนำเกี่ยวกับ WCAG อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เว็บไซต์มีความทันสมัย และสามารถใช้งานรวมถึงเข้าถึงได้อย่างปราศจากอุปสรรคเท่าเทียมกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ WCAG มีการอัปเดตข้อแนะนำเวอร์ชั่นล่าสุดคือ 2.1 และได้กำหนดเกณฑ์ในการวัดความสำเร็จของเว็บไซต์ไว้ 3 ระดับด้วย คือ A, AA และ AAA
ระดับ A คือ เว็บไซต์พอจะเข้าถึงได้ ซึ่งเป็นแนวทางขั้นตํ่าสุดที่ต้องทํา ไม่เช่นนั้นแล้วการเข้าถึงจะเป็นไปได้ยากหรือไม่ได้เลย
ระดับ AA คือ เว็บไซต์เข้าถึงได้ ลดอุปสรรค ในการเข้าถึงลงไป ซึ่งเป็นแนวทางขั้นกลางที่ควรจะทํา เพื่ออํานวยความสะดวกในการเข้าถึงเพิ่มขึ้น
ระดับ AAA คือ เว็บไซต์มีสิ่งอำนวยความสะดวกในระดับดีมากต่อการเข้าถึง ซึ่งเป็นแนวทางขั้นสูงสุดที่อาจจะทํา เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงและใช้งานเนื้อหาเว็บได้สูงสุด
สำหรับประเทศไทย สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย(สภาดิจิทัลฯ) ได้พัฒนา Accessibility Guidelines สําหรับ Digital Platform (Websites & Mobile Apps) ตามแนวปฏิบัติตามมาตรฐานสากล Web Content Accessibility Guidelines (WCAG) 2.1 เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและบริการออนไลน์ต่างๆ ของกลุ่มผู้เปราะบาง (Vulnerable Person) ซึ่งมีแนวทางหรือมาตรฐานในการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล เพื่อให้ผู้พิการด้านการมองเห็น สามารถเข้าถึง และใช้บริการดิจิทัล บริการออนไลน์ต่างๆ ที่เป็นปัจจุบัน ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
หากสนใจตรวจสอบแก้ไข หรือพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน WCAG 2.1 กรุณากรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มด้านล่าง ดังนี้